วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ
2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
       1.) ข้อมูล
                    ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน

           2.) สารสนเทศ
                     สารสนเทศ(information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้อง
แม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
           3.)ลักษณะของข้อมูลที่ดี

                     ข้อมูลที่ดีเป็นข้อมุลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับ
ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้  โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
                        * มีความถูกต้องและแม่นยำ  เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้
                        * มีความสมบูรณ์ครบถ้วน  ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
                        * ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก
                        * ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
           4.) ชนิดและลักษณะของข้อมูล

                     ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
                       * ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ มีหลายรูปแบบคือ

                                  - เลขจำนวนเต็ม คือ ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม
                                  -  เลขทศนิยม คือ ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม หรือจำนวนที่มีเศษเป็นทศนิยมก็ได้
              เลขทศนิยมเขียนได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
                    ก) แบบทั่วไป เช่น 7.0 35.73
                    ข) แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์
                       * ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ  (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้
             5.) ประเภทของข้อมูล
                      เราสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
                         * ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จาการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน

                         * ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้




2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ

                     เราสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
             1.) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

                       * การรวบรวมข้อมูล  เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
                       * การตวจสอบข้อมูล  เมื่อมัฃีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หากเกิดความผิดพลาดควรรีบแก้ไข
              2.) การประมวลผลข้อมูล

                         * การจัดกลุ่มข้อมูล  ข้อมุลควรจัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับใช้งานต่อไป
                         * การจัดเรียงข้อมูล  เมื่อจัดกลุ่มเสร็จ ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรืออักขระเพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการหาข้อมูล
                         * การสรุปผลข้อมูล หลังจากการจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลแล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลเหล่านี้ให้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
             3.) การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล

                         ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
                          * การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
                          * การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลสำเนามาใช้ได้ทันที
           4.) การแสดงผลช้อมูล
                          * การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้ีนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
                           * การปรับปรุงข้อมูล หลังจากเผยแพร่ข้อมูลแล้วควรมีผลตอบกลับมา เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยตลอดเวลา

2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
 
            1.)เลขฐานสอง
                    การสื่อสารกับเครื่คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล หรือการสั่งงานจะต้องอาศับระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลขศูนย์(0) และหนึ่ง(1) โดยแต่ละหลักจะเรียกว่า "บิด" (Binary Didit : Bit) และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิดมาต่อกัน (8 บิต (bit) เท่ากับ 1 ไบต์ (bite)) จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
            2.)รหัสแทนข้อมูล
                     เพื่อแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ไปในแนวเดียวกัน จึงมีการสร้างมาตรฐานรหัสแสดงข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

                        * รหัสแอสที (American Standard Code Information ; ASCIL) เป็นรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ1 ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการแทนอักขรธแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน
                        * รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองจำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภทเป็นตัวอักษรแบบรูปภาพ ซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต จะแทนรูปแบบตัวอักษรเพียง 256 รูปแบบ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างรหัสใหม่ขึ้นมาแทน โดยแทนตัวอักขระได้ 65536 ตัว และยังใช้แทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย
           3).การจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ในการจัดเก็บข้อมมูล ต้องกำหนดรนูปแบบของข้อมูล เพื่อให้ผู้ให็ผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจตรงกัน มีรายละเอียดดังนี้
                      *บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
                      *ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล
                      *เขตข้อมูล (file) คือข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
                      *ระเบียนข้อมูล (recoed) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
                      *แฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
                      * ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน

2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล

             1) ความเป็นส่วนตัว
                      ความเป็นส่วนตัว (privary) ก่อนที่จะเผยแผ่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงคืก็จะสร้างความเดือดร้อนให้เเก่เจ้าของข้อมูลได้
           2)ความถูกต้อง
                    ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนที่จะเผยแผ่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบข้อมูลนั้นเสียก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์ได้เลย
           3)ความเป็นเจ้าของ
                     ความเป็นเจ้าของ (property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลมาใช้งาน
            4)การเข้าถึงข้อมูล
                       การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระบบของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษษความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

คำถาม
1.สารสนเทศหมายความว่าอย่างไร
2.กระบวนการจัดการข้อมูลสารสนเทศมีกี่ประเภทอะไรบ้าง อธิบาย


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยคำสามคำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ"และ "การสื่อสาร"ซึ่งมีความหมายดังนี้



เทคโนโลยี(technology)
        การนำความรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมื เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั้งสิ่งที่ไท่สามารถจับต้องได้
สารสนเทศ(information)

        ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ
การสื่อสาร(communication)
      
  การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่ิอเป็นตัวกลาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งส่ารต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
   เทคโนโลยีสารสนเทศ(information technology : IT) มาจากคำว่า "เทคโนโลยี"กับ"สารสนเทศ"เชื่อมต่อกันซึ่งหมายถึงการนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ืใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูล สารสนเทศอย่างเป็นระบบ
 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
         เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(information and communication technology : ICT) จะมีความหมาย คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ

1.2 ระบบสารสนเทศ
                ระบบสารสนเทศ (information  system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม  จัดเก็บ  และจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ  ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญคือ

                     1.) ฮาร์ดแวร์
                              ฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ



                     2.) ซอฟต์แวร์
                               ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรเเกรมหรือชุดคำสั่งที่สังการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่างๆทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้   แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือ

                       *  ซอฟต์แวร์ระบบ
                                    ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

                       *  ซอฟต์แวร์ประยุกต์
                                     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( application system ) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
                3.)ข้อมูล
                          ข้อมูล(data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูลจะต้องเป็นไปอย่างมีระบบ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
                4.) บุคลากร
                           บุคลากร (people) จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทส(user)ซึ่งผู้พัฒนา จะต้องพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ เำพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ตามความต้องการ ส่วนผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในการใช้งานให้ถูกต้อง
               5.) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                          ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(procedure) ผู้ใช้จะต้องใช้งานและปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน ( user manual) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่ประสิทธิภาพ
                      ส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วนมีความสำคัญ หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไประบบสารสนเทศนั้นขาดความสมบูรณ์ได้

1.3 ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        1.) ด้านการศึกษา
                       ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่่างๆ   อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาศในการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
             2.) ด้ารการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
                         ข้อมูลจำนวนมากถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ
 ซึ่งสามารถ  เก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งหมดไว้และนำข้อมูลมาใช้ได้ตลอดเวลา
              3.) ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
                         การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

               4.) ด้านวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี
                        การวิจัยและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น เช่น การออกแบบโครงสร้างที่สลับซับซ้อน

                5.) ด้านความบันเทิง
                            รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ที้งภาพและเสียงได้อย่งมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยม
         
          
                      นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์กด้านอื่นๆอีก เช่น ด้านสิ่งพิมพ์ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  ด้านความมั่นคง  ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนัมาปรับใช้ ให้เป็นไปตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเป็นสำคัญ
1.4 แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      - เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
      - มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
      - อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกะทักรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นและมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
      - การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
      - ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้มีช่องทางดำเนินธุรกิจ กิจกรรมต่างๆมากขึ้น
      - หน่อยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง แต่ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครื่อข่ายระหว่างหน่อยงานย่อยเพิ่มขึ้น

       แนวโน้มด้านอื่นๆมีอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน เยาวชนจึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจเกีียวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อที่จะพัฒนาต่อไป

1.5 ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      - พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนเเรง อาจก่ออาชฌากรรมได้
      - การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป พบปะผู้คนน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทางสังคมลดน้อยลง
      - การเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีช่วงทางโจรกรรมมากขึ้น
      - ด้วยเทคโนโลยีที่ลำ้สมัย ทำให้มีของผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น
      - การส่งต่อข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่่าย
      - เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาเพิ่มขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตรการกำจักขยะอิเล็กทรอนิกส์

   
        ผลกระทบด้านอื่นๆมีอีกมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้คนในสังคมจะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบเหล่านี้

1.6 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      - นักเขียนโปรแกรม (programmer)ทำหน้าที่เขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ
      - นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสานเทศ โดยออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
      - ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database admintstrator)ทำหน้าที่บรหารจัดการฐานข้อมูล ดูแลความปลอดภัยของข้อมูล ประสานงาน และตรวจสอบการใช้งาน
      - ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซตื (network admintstrator)ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบเครือข่ายในองค์กร
      - ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)ทำหน้าที่ดูแลและคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์ตั้งแต่เนื้อหาไปจนถึงหน้าตาของเว็บเพจให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
      - เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)ทำหน้าที่ดูแลรักาาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 

      นอกจากนี้ ยังมีอาชีพอื่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอีกมากมาย เช่น นักออกแบบเว็บไซต์(web designer)
 
 
ตอบคำถาม
 
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ Avast Free Antivirus 2013 8.0.1489